วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


โครงสร้างองค์กร  หมายถึง การจัดระบบในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้โดยการจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งการจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย

องค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) ได้แก่
  1. โครงสร้างยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ติดยึดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักร มีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน
  2. มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  3. มีการทำงานเป็นทีม(Team Work) ร่วมมือกัน
  4. เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance –Oriented) กฎ ระเบียบ จะกำหนดเท่าที่จำเป็น ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือในการทำงาน
  5. การติดต่อสื่อแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกติดต่อได้ทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชา
กระบวนการจัดการแบบ 5s Model  หมายถึง การจัดระเบียบของการทำงานในลักษณะขององค์กรสมัยใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทางานมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย Small, Smart, Smile, Simplify, Smooth ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  1. Small  คือ เป็นองค์การขนาดเล็ก แต่เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ 
  2. Smart คือ ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าเชื่อถือ ใช้คำว่า ฉลาดเพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญา การจะทำให้เท่ห์ต้องมี ISOมีการประกันคุณภาพในระบบของ QA และกิจกรรมอื่นเช่น 5 ส. , TQA
  3. Smile คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้าใจ ฉะนั้นคนในองค์การจะต้องทำงานอย่างมีความสุข ความสุขมีอยู่ 2 ฝ่าย
                            1 ) คนทำงานมีความสุข
                            2 ) ลูกค้าผู้รับการบริการ โดยเริ่มที่พนักงานก่อนแล้วออกแบบองค์การให้เป็นองค์การที่มีความสุข สนุกในงานที่ทำมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ทำงานด้วยใจรัก รักงานอยากจะมาทำงาน
  4. Smooth คือ ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง จะพูดเรื่องการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
  5. Simplify คือ ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายหรือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องที่ไม่สะดวกให้สะอาด ทำเรื่องที่ช้าให้เร็วขึ้น
ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization) 
  1. ความยืดหยุ่น Flexible แต่ละองค์การที่มีความหลากหลายที่มารวมตัวกันบางครั้งมาจากหน่วยงานภายในองค์การเดียวกันที่มาเชื่อมโยงกัน /มาจากต่างองค์การ
  2. Assemble by brokers อาจมีตัวแทนหรือการoutsource
  3. Team –base ทำงานเป็นทีม
  4. Flat org. โครงสร้างเป็ แบบแนวราบเน้นการเจรจาประสานงานกันมากกว่าโครงสร้างสายการบังคับบัญชา
  5. ใช้ IT มาเชื่อมโยงเพื่อการประสานงานหรือรวมกลุ่มหรือประสานงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ
  6. ขอบเขตไม่ชัดเจน
แนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคต
  • มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการและให้บริการมากขึ้น
  • มีการจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่
  • ให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ศึกษาบันเทิง กล่าวคือเป็น แหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ โดยป็นลักษณะแบบทั่วไปที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

 
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
2. ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทำผิด  

การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน
ภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์
  • การนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ไม่ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
  • รูปภาพและภาพถ่ายใช้ได้อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)
  • ผู้สอนและผู้เรียนดาวน์โหลดภาพจากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการศึกษาได้ในปริมาณเท่ากับ อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)แต่จะอัพโหลดงานนั้นกลับขึ้นบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ภาพที่มีลิขสิทธิ์
  • หากภาพประกอบนั้นมีการถ่ายภาพมาโดยมีการสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด ความพยายามในการจัดแสง มุมมองภาพที่แปลก หรือปรับแต่งภาพให้สื่อความหมายในรูปแบบต่าง ๆ แสดงว่าภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
  • การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธ
  • การนำภาพที่มีลิขสิทธิ์จากสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ นั้นมาดัดแปลงตกแต่งใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับของเดิมแสดงว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่มเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ เพราะเหตุใด
การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่มนั้น เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะขัดต่อการได้รับประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนั้น

สัญลักษณ์            

หมายถึง เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลง ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้

การใช้สัญลักษณ์ สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์

  • เป็นการกาหนดสัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ และแนวทางปฏิบัติเพื่อไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ในสากล
  • การใช้สัญลักษณ์สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ http://onopen.com/สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 UnportedLicense.เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลง ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้
  • การใช้สัญลักษณ์สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ http://www.thaihealth.or.th/
    สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 UnportedLicense.เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลง ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้
  • ตัวอย่าง


  • สาระของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

                   มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                     มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                      มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้



ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง
             บุคคลที่ทำหน้าที่งานบริหารที่ดูแล ควบคุม สั่งการ แก้ปัญหา ให้งานในระดับปฏิบัติการดำเนินต่อไปให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ โดยตำแหน่งผู้จัดการศูนย์ มักเรียกเป็นผู้อำนวยการ หัวหน้า หรืออื่น ๆ ที่สื่อความหมายถึงผู้นำศูนย์ฯ นั้น ๆ
คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
             1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการ
ชี้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบูรณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากร
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

             2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียน
การสอน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับ
สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอนหลักการของผู้นำในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
             3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กรภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป
             4. ผู้ฝึกสอน (Coach) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คาปรึกษาให้คำแนะนาสร้างความไว้วางใจให้อานาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน

             5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ

หลักการของผู้นาในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

             1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในความก้าวหน้าแห่งศาสตร์อยู่เสมอเช่นเดียวกับต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์วิชาชีพของตนเอง

             2. แบบแผนการคิดอ่าน (Mental models) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญ (Reflection) เพื่อเป็นการตรวจว่าความคิดใดความเชื่อใดมีผลดีผลเสียต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด
             3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสานวิสัยทัศน์กับบุคคลอื่นๆ ในองค์กรเพื่อที่จะหาจุดร่วมที่ดีที่สุด และสร้างความเท่าทันในทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า

             4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสร้างการเรียนรู้เป็นทีมที่สมาชิกในทีม ต้องมีความสามารถในการคิดตีปัญหาหรือประเด็นในกระจ่าง อีกทั้งภายในทีมต้องรู้จักประสานกันอย่างดีคิดในสิ่งใหม่และแตกต่างไว้วางใจซึ่งกันและกัน สมาชิกทุกคนต้องมีการสร้างระบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ย่อมนำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

             5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) ผู้จัดการศูนย์จะต้องมีวิธีการคิดที่เห็นภาพระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอนรวม ระบบการให้บริการสื่อไปถึงระบบสังคมโดยรวมเห็นทั้งหมดมีกรอบที่เห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นในเชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มมากว่าที่จะเห็นแค่ฉาบฉว ยเพื่อที่จะสามารถนำมาวางแผนเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศึกษาดูงานการให้บริการสำนักหอสมุด

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูร


ประวัติ

           สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516

           เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “อาคารเทพรัตนราชสุดา” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538
ปรัชญา

            ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาสังคม

ปณิธาน

            ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางการให้บริการสารสนเทศ พร้อมกับมุ่งมั่นให้บริการดัวยความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ น่าเชื่อถือ ด้วยความมีมิตรไมตรีี

วิสัยทัศน์

            มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการสารสนเทศ ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อความเป็นมาตรฐานสากล

ภารกิจหลัก

           1.จัดสำนักหอสมุดให้เป็นศูนย์รวมวิชาการในรูปแบบของศูนย์บริการสารสนเทศ ในทุกรูปแบบ ตลอดจนเป็นศูนย์บริการเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า และการวิจัยของนิสิตอาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
           2. พัฒนาสำนักหอสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และห้องสมุดดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ
           3.ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยโดย พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดของมหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha University Library Network)
           4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสำนักหอสมุดผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินงานและการให้บริการสารสนเทศ
           5. พัฒนากลไกการประกันคุณภาพการดำเนินงานและการให้บริการของสำนักหอสมุด

เป้าหมายการดำเนินงาน

           1. เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้บรรลุตามภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่ชุมชน และการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
           2. เพื่อจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
           3. เพื่อจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และตรงตามความต้องการโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
           4. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน

พันธกิจ

           สำนักหอสมุด มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยการจัดหา จัดเก็บ จัดระบบ บำรุงรักษา และให้บริการสารสนเทศทางวิชาการในทุกรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดดิจิทัล สำนักหอสมุดให้บริการเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานสากล สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานและการให้บริการในลักษณะเครือข่ายห้องสมุดทั้ง ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในระดับชาติและนานาชาติ โดยเน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยความสะดวก รวดเร็ว และจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี

โครงสร้างองค์กรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
          หลักการดำเนินงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหลักการจัดการ โดยการใช้คน ทรัพยากร เทคนิคต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ หรือแผนงานที่วางไว้

ทรัพยากรในการจัดการ ตามหลัก  4MA  2MO 1ME 
           
           1. Man : คน
           2. Materials : วัสดุ
           3. Machine : เครื่องจักร
           4. Market : การตลาด/การประชาสัมพันธ์
           5. Money : งบประมาณ
           6. Moral : ขวัญ กำลังใจ
           7. Method : วิธีการ

กระบวนการบริหารจัดการ (POSDC0RB)

           1. การวางแผน Planing
           2. โครงสร้างองค์กร Organizing
           3. จัดคนเข้าทำงาน Staffing
           4. อำนวยการ/การสั่งการ Directing
           5. การประสานงาน Co-ordination
           6. การรายงาน Reporting
           7. งบประมาณ Budgeting

แหล่งข้อมูล : http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้

1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
                จัดอยู่ในประเภทของสื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกความรู้ ความคิดของมนุษย์นำมารวบรวมเป็นเล่ม ให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าและใช้อ้างอิง โดยจะจัดอยู่ในสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้

2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไรในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว

-  กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทให้ชัดเจน
 - ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
 - เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
 - เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
 - สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
-  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
-  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ราคาไม่แพงเกินไป
-  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
3. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง
1. จัดซื้อ ตามความต้องการของหน่วยงานเป้าหมายที่จะมาใช้บริการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่
1.1 สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.2 สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจาหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.3 เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.4 จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ
2. รับบริจาค : องค์กร/หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูล บุคคล
3. ผลิตเอง : วีดิทัศน์ ภาพถ่าย บันทึกการประชุม/สัมมนา สแกนภาพ
4. แลกเปลี่ยน : ในการให้บริการระหว่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในเครือข่าย


การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

รายงานผลการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เป็นเอกสารสำคัญในการบริหารงานคุณภาพที่ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบต้องจัดทำบันทึกและเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบรายงานผลการตรวจสอบผลการดาเนินงาน ประกอบด้วย

1. ปกรายงาน ได้แก่
-ชื่อศูนย์ "ศูนย์สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา"
-ชื่อหน่วยงาน "ฝ่ายผลิตสื่อ"
-รายงานผลการตรวจสอบเรื่อง"กระบวนการผลิตสื่อ"
-เป็นเอกสาร.........
-วันที่เริ่มตรวจ
-วันที่ตรวจเสร็จ
-ระยะเวลาการตรวจสอบ...................วัน
-รายชื่อคณะกรรมการผู้ตรวจสอบ
2. เรื่องในรายงาน ประกอบด้วย
-บทสรุปผลการตรวจสอบ
-รายงานความเห็นของคณะกรรมการผู้ตรวจสอบ
3. รายละเอียดประกอบการรายงาน ได้แก่
-ใบมอบหมายให้ทำการตรวจสอบ
-กำหนดการตรวจสอบ
-บันทึกการตรวจสอบ
-สำเนาเอกสารผลการตรวจสอบครั้งล่าสุด
-ใบรายงานผลการตรวจสอบครั้งล่าสุด
-ใบรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน

                การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป


การประสานงาน CO-ORDINATION

1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
                1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม (Simplified Organization)
การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization) ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
ก.การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น
ข.การแบ่งตามหน้าที่
ค.การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน (Harmonized Program and Policies)
3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication)
การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication) เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
ก.แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
ข.รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
ค.เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายใน โรงพิมพ์ เป็นต้น
 4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)
เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination) การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
 5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision)
หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดาเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
            1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทาให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
 5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
 6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8.การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทาให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน

12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป